วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สาระคดี

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อุทยายแห่งชาติภูจองนายอย หรือ น้ำต้ห้วยหลวง




อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา พื้นที่ป่าอยู่ในส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรักประกอบด้วยภูเขาภูเล็กภูน้อยมากมาย เช่น ภูจองนายอย ภูจองน้ำซับ ภูจอง ภูจันทร์แดง ภูพลาญสูง ภูพลาญยาว เป็นต้น มีสภาพป่าสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติที่สวยงาม และมีสัตว์ป่าชุกชุม มีเนื้อที่ประมาณ 428,750 ไร่ หรือ 686 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา: สืบเนื่องจาก ร.ต.ท.ณรงค์ เทวคุปต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีได้มีหนังสือลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2525 ถึงกรมป่าไม้ เสนอโครงการพัฒนาป่าภูจอง-นายอยให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามความต้องการของราษฎรอำเภอนาจะหลวย และอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันรักษาป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงามไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งที่ 116/2526 ลงวันที่ 19 มกราคม 2526 ให้นายอนุศักดิ์ ศรีทองแดง เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปทำการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว

ผลการสำรวจ ปรากฏว่าสภาพพื้นที่ป่าสมบูรณ์ สัตว์ป่าหลายชนิดชุกชุม และมีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง ตามรายงานการสำรวจ ที่ กส 0713(ภจ)/พิเศษ ลงวันที่ 12 เมษายน 2526 เพื่อเป็นการสนองตอบความต้องการของราษฎรที่จะอนุรักษ์ป่าภูจอง-นายอยไว้ ต่อมานายเคน ประคำทอง ราษฎรอำเภออุดมเดช จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 1 มิถุนายน 2526 ถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้เร่งรัดสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมเห็นว่า พื้นที่ป่าภูจอง-นายอยมีสภาพทิวทัศน์และธรรมชาติที่สวยงามเหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือวนอุทยานภูจอง ที่ กห 0713(ภจ)/77 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2527


กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 3/2527 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2527 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูจอง-นายอยในท้องที่ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย และตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอนที่ 103 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 53 ของประเทศ


ลักษณะภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่บริเวณป่าภูจอง-นายอยจะเป็นเทือกเขาแหล่งต้นน้ำของลำน้ำลำห้วยที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ ส่วนมากดินจะเป็นดินลูกรังปะปนหินปูนตามบริเวณที่ราบบนเนินเขา และประกอบด้วยลานหินลักษณะต่างๆ ตลอดจนหน้าผา เช่น ผาผึ้ง

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย จัดเป็น 3 ฤดู ฤดูฝน เริ่มราวเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน ฤดูหนาว เริ่มราวเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งอากาศโดยทั่วไปไม่ร้อนจัดเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยช่วงฤดูหนาวมีอากาศที่เย็นมากอีกครั้งหนึ่ง

พืชพรรณและสัตว์ป่า
ประกอบด้วยพรรณไม้ชนิดป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งขึ้นอยู่เป็นส่วนๆ มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่นประมาณร้อยละ 75 โดยเฉลี่ยประกอบด้วยไม้พื้นล่างขึ้นหนาแน่น ได้แก่ จำปาป่า และพรรณไม้ดอกต่างๆ แซมเป็นไม้พื้นล่างให้กับไม้ยืนต้นจำพวกตะเคียนทอง ประดู่ ยาง กระบาก ปู่จ้าว พะยูง มะค่า แกแล เป็นต้น ขึ้นแยกอยู่ตามสภาพป่า

บ้านพัก-บริการ
โรงแรม - รีสอร์ท ที่ตั้งอยู่โดยรอบอุทยานฯ
# ชื่อโรงแรม/รีสอร์ท ราคา/ห้อง/คืน ดูรายละเอียด

หมายเหตุ :
ThaiForestBooking.com ยินดีเปิดรับโรงแรมและรีสอร์ทที่ตั้งอยู่โดยรอบพื้นที่อุทยานฯ หรือบริษัททัวร์ที่ให้บริการนำเที่ยว เข้าร่วมขายบริการผ่านเว็บไซต์นี้ได้โดยการลงทะเบียน "ฟรี" ได้ที่เว็บไซต์ www.eComBotTravel.com ซึ่งระบบจะสร้างเว็บไซต์และระบบจอง online พร้อมทั้งเชื่อมลิงค์มายังเว็บไซต์แห่งนี้และ/หรืออุทยานฯ ที่ท่านระบุในหมวด Location ว่าอยู่ใกล้โดยอัตโนมัติ

บ้านพักทางการที่ตั้งในอุทยานฯ
โปรดคลิกที่ชื่อที่พัก เพื่อดูรูปภาพและรายละเอียดของที่พักแต่ละหลัง
บริเวณ ชื่อที่พัก-ห้องประชุม ห้องนอน ห้องน้ำ จำนวน คน/หลัง ราคา
หลัง/คืน (บาท) สิ่งอำนวย
ความสะดวก
โซนที่ 1 ภูจอง 101 (แดงอุบล) 1 1 3 600 มีเครื่องนอน, โต๊ะอาหาร,พัดลม
โซนที่ 1 ภูจอง 102 (หยาดน้ำค้าง) 1 1 3 600 มีเครื่องนอน, โต๊ะอาหาร,พัดลม
โซนที่ 1 ภูจอง 911 (นนทรี) 2 2 40 4,000 มีเครื่องนอน, โต๊ะอาหาร,พัดลม



แหล่งท่องเที่ยว


จุดชมทิวทัศน์

บริเวณผาผึ้งอยู่ถัดจากพลานยาวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สามารถชมทิวทัศน์สวยงามตามแนวชายแดนกัมพูชาประชาธิปไตย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยที่ชะง่อนผามีถ้ำขนาดย่อย ๆ หินสวยงามและรังผึ้งขนาดใหญ่ให้ชม

น้ำตกบักเตว หรือ น้ำตกห้วยหลวง
มีขนาดใหญ่พอสมควร มีผาน้ำกระโจนตกจากแอ่งสู่เวิ้งเบื้องล่างสูงราว 40 เมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น มีทางขึ้นลงธรรมชาติ เพื่อชมและเล่นน้ำบริเวณอ่างน้ำด้านล่างได้สะดวกห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 3 กิโลเมตร
กิจกรรม : - เที่ยวน้ำตก

บริเวณผาตาลืม

อยู่ริมหน้าผาของภูวังยาวตรงข้างล่างของหน้าผามีตาน้ำซับไหลตลอดปี

บ่อน้ำซับ

แทรกอยู่ในความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ถึง 3 บ่อ บนภูกระทุ่ง อำเภอนาจะหลวย
กิจกรรม : - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

พลาญป่าชาด
อยู่ระหว่างทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปน้ำตกห้วยหลวง เป็นลานหินที่แวดล้อมด้วยป่าเต็งรัง ในช่วงต้นฤดูฝนดอกกระเจียวจะผลิดอกเบ่งบานเต็มท้องทุ่ง พอถึงช่วงปลายฝนต้นหนาวพืชขนาดเล็กอย่างหยาดน้ำค้าง ดุสิตาและสร้อยสุวรรณจะออกดอกสวยงาม
กิจกรรม : - ชมพรรณไม้

ภูหินด่าง
เป็นหน้าผาที่สามารถชมทะเลหมอกลอยปกคลุมผืนป่าในประเทศลาวได้ชัดเจน บริเวณภูหินด่างยังมีลานหินปุ่มและลานหินแตกลักษณะเดียวกับที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า การเดินทางสู่ภูหินด่างใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2248 จากอำเภอนาจะหลวยถึงบ้านห้วยข่า เลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2254 ถึงบ้านหนองเม็ก มีทางลูกรังแยกไปทางซ้าย เมื่อถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภจ. 5 (พลาญมดง่าม) ต้องขึ้นเขาชันอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงภูหินด่าง
กิจกรรม : - ชมทิวทัศน - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

สวนหินพลาญยาว

มีกลุ่มหินรูปร่างลักษณะน่าพิศวงเป็นกลุ่มขึ้นอยู่งดงาม บริเวณกว้างหลาย ๆจุด สามารถจัดเป็นแหล่งสันทนาการที่สำคัญของป่าภูจอง-นายอยอีกแห่งหนึ่ง
สถานที่ติดต่อและการเดินทาง
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย
อ. นาจะหลวย จ. อุบลราชธานี 34280

การเดินทางรถยนต์


จากกรุงเทพฯ ได้ทั้งทางรถไฟ รถยนต์ สายเก่า-สายใหม่ เมื่อถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว เดินทางโดยรถยนต์ประจำทาง จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอนาจะหลวย ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร ถ้าหากจะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว แนะนำให้ใช้เส้นทาง อุบลราชธานี-อำเภอวารินชำราบ อำเภอเดชอุดม อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย ระยะทางรวม 140 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอนาจะหลวยประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงบ้านแก้งเรืองซึ่งมีทางแยกเข้าอุทยานแห่งชาติ


บริการด้านการขนส่ง

เช่ารถตู้ บริการเพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ซึ่งการเช่านี้เป็นการเช่ารถพร้อมคนขับโดยไม่รวมค่าน้ำมัน และค่าธรรมเนียมผ่านทางต่างๆ
เช่าเรือ บริการให้เช่าเรือแก่ผู้เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล
บริการรับ-ส่ง บริการรับ-ส่ง ให้แก่ผู้ที่จะเดินทางไป-กลับระหว่างสนามบิน/สถานีขนส่ง/ท่าเรือ/สถานที่พักกับอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และ/หรือ สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ
ตั๋วโดยสาร บริการจองตั๋วโดยสารเพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และ/หรือ สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ทั้งทางเครื่องบิน รถโดยสาร รถไฟ และเรือ

ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ

ผู้ใหญ่ คนละ 20-80 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
เด็ก คนละ 10-40 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จักไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก

อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา พื้นที่ป่าอยู่ในส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรักประกอบด้วยภูเขาภูเล็กภูน้อยมากมาย เช่น ภูจองนายอย ภูจองน้ำซับ ภูจอง ภูจันทร์แดง ภูพลาญสูง ภูพลาญยาว เป็นต้น มีสภาพป่าสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติที่สวยงาม และมีสัตว์ป่าชุกชุม มีเนื้อที่ประมาณ 428,750 ไร่ หรือ 686 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา: สืบเนื่องจาก ร.ต.ท.ณรงค์ เทวคุปต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีได้มีหนังสือลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2525 ถึงกรมป่าไม้ เสนอโครงการพัฒนาป่าภูจอง-นายอยให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามความต้องการของราษฎรอำเภอนาจะหลวย และอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันรักษาป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงามไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งที่ 116/2526 ลงวันที่ 19 มกราคม 2526 ให้นายอนุศักดิ์ ศรีทองแดง เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปทำการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว

ผลการสำรวจ ปรากฏว่าสภาพพื้นที่ป่าสมบูรณ์ สัตว์ป่าหลายชนิดชุกชุม และมีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง ตามรายงานการสำรวจ ที่ กส 0713(ภจ)/พิเศษ ลงวันที่ 12 เมษายน 2526 เพื่อเป็นการสนองตอบความต้องการของราษฎรที่จะอนุรักษ์ป่าภูจอง-นายอยไว้ ต่อมานายเคน ประคำทอง ราษฎรอำเภออุดมเดช จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 1 มิถุนายน 2526 ถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้เร่งรัดสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมเห็นว่า พื้นที่ป่าภูจอง-นายอยมีสภาพทิวทัศน์และธรรมชาติที่สวยงามเหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือวนอุทยานภูจอง ที่ กห 0713(ภจ)/77 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2527

มีรุปภาพมาฝากค่ะ มาดูกันนะค่ะว่ามีความงดงามแค่ไห












>แหล่งที่มาของข้อมูล
http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.dnp.go.th/parkreserve/pictures/npc/npc80.jpg&imgrefurl=http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp%3Fnpid%3D99%26lg%3D1&usg=__PRa1TsvFPG-UQ_WLVyn5IHJqdYo=&h=435&w=370&sz=17&hl=th&start=3&sig2=LK9owZET8hV-
http://travel.sanook.com/northeast/ubonratchatani/ubonratchatani_03098.php?page=50

http://www.thaiforestbooking.com/np_home.asp?lg=1&npid=99

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยวที่อุบลค่ะ แต่ที่อำเภอเราเอง อำเภอน้ำยืน

สถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแก่งลำดวน
ชม "กุ้งเดินขบวน" ธรรมชาติมหัศจรรย์ที่สามเหลี่ยมมรกต ตลอดเดือนกันยายน บริเวณน้ำตกแก่งลำดวน บ้านแข้ด่อน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

ในช่วงเดือนกันยายน ณ ผืนป่าสมบูรณ์ปลายล่างสุดของภาคอีสานในเขตอำเภอน้ำยื น จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ใกล้รอยต่อเขตแดน 3 ประเทศ คือ ไทย ลาวและกัมพูชาหรือที่รู้จักกันดีในนาม “สามเหลี่ยมมรกต” จะปรากฏเหตุการณ์มหัศจรรย์เมื่อบรรดากุ้งน้ำจืดนับล้ านๆ ตัวต่างพากันพร้อมใจเดินพาเหรดผ่านลานหินเลียบแก่งน้ ำมุ่งหน้าสู่ยอดเขาสูงแห่งสามเหลี่ยมมรกต

ปรากฏการณ์ “กุ้งเดินขบวน” เกิดขึ้นที่แก่งลำดวน บริเวณสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบล ราชธานี อ.น้ำยืน โดยจะเดินขบวนในช่วงกลางคืนหลังฝนตกหนักหรือสายน้ำใน แก่งลำดวนมีความเชี่ยวกราก นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่น่าศึกษาเป็นอย่า งยิ่ง


กุ้งมาเดินขบวนทำไม??

การที่กุ้งเหล่านี้มาเดินบนพลาญหินบริเวณลานพันรู มีสาเหตุมาจากการที่จะเดินทางไปยังแหล่งต้นน้ำที่เป็ นบ้านเกิดบนเทือกเขาพนมดงรักต้องฝ่าฟันอุปสรรค์ต่างๆ มากมาย นี่ก็เป็นบทพิสูจน์อีกอย่างหนึ่งคือการเดินทางผ่านน้ ำตกแก่งลำดวนซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวจำเป็นต้องหลบคว ามแรงของกระแสน้ำโดยการขึ้นมาเดินบนโขดหินจนกลายเป็น เหตุการณ์ที่เห็นแล้วทึ่งดังกล่าว

กุ้งอะไรที่มาเดินขบวน??

โดยปกติแล้วกุ้งจะมีทั้งชนิดน้ำจืดและน้ำเค็ม อาศัยตามพื้นที่ต่างๆแตกต่างกันไป แต่กุ้งที่มาเดินขบวนที่น้ำตกแก่งลำดวนบริเวณลานพันร ูนั้นเป็นกุ้งฝอย ชื่อสามัญ คือ LANCHESTER , S FRESHWATER PRAWN ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrobachiam lanchesteri จัดว่าเป็นกุ้งขนาดเล็ก มักอยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยตามผิวน้ำริมตลิ่ง แหล่งน้ำต่างๆชอบกินจุลินทรีย์และสัตว์น้ำขนาดเล็กเป ็นอาหารมีความยาวประมาณ 2–7 ซม. เป็นที่นิยมของนักบริโภคทั้งหลาย

กุ้งจะเดินขบวนช่วงเดือนอะไร??

กุ้งเหล่านี้จะขึ้นมาเดินขบวนอวดโฉมสรีระเป็นหมื่นๆแ สนๆตัวต่อคืนในช่วงกลางเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนกันยาย นของทุกๆปี คืนไหนจะขึ้นมาเดินมากหรือเดินน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจ ัยทางธรรมชาติ ฤดูกาล ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่รับน้ำหรือลุ่มน้ำลำโด มใหญ่ ซึ่งมีต้นน้ำอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ถ้าฝนตกหนักติดต่อกันหลายๆวัน ป่าไม้ต้นน้ำก็จะปล่อยน้ำลงมามากระดับน้ำสูงกระแสน้ำ เชี่ยวกุ้งก็จะขึ้นมาเดินขบวน

กุ้งมาเดินขบวนที่ไหน??

สถานที่ที่ท่านสามารถไปชมกุ้งเดินขบวนได้ก็คือ บริเวณน้ำตกแก่งลำดวน ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านแข้ด่อน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัด ตามเส้นทาง อุบล-เดชอุดม-น้ำยืน-แก่งลำดวน ระยะทางประมาณ 120 กม.

แก่งลำดวน อยู่ห่างจากตัวอำเภอน้ำยืน 16 กม. และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 120 กม. สามารถเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับน้ำตกห้วยหลวง อุทยานแห่งชาตภูจองนายอย ได้โดยสะดวก สอบถามรายละเอียดได้ที่ ที่ว่าการอำเภอน้ำยืน โทร.0-4537-1089, 0-4537-1442 สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธาน ี 08-5491-9848, 08-9286-0935


เรามีรูปมาฝากจ้า











แหล่งที่มาของข้อมูล

แผ่นที่ของแหล่ง่องเที่ยว
http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=17749
http://statics.atcloud.com/files/comments/101/1013689/images/1_display.jpg


http://www.sadoodta.com/travel.php?subaction=showfull&id=1189221008&archive=&start_from=&ucat=5

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


เป็นขั้นตอนที่9นะค่ะ
9. Saturation
ผู้คนส่วนใหญ่ ชอบภาพถ่ายที่สีสันสดใส แต่ถ้าภาพที่ถ่ายมาสีทึมๆ และผิดเพี้ยนไปต่างกับที่ตามองเห็น แก้ได้ง่ายนิดเดียว เลือกเมนู Image > Adjustment > Hue/Saturation จะได้หน้าต่างสำหรับปรับ Hue เพื่อเปลี่ยนโทนสี และ Saturation เพิ่มความอิ่มตัวของสี











ภาพต้นฉบับ










ภาพที่แก้ไขแล้ว


ค่ะพอที่จะเข้าบ้างไหม เดี๋ยวครั้งหน้าจะวิธีอื่นที่เกี่ยวคอมพิวเตอร์มาให้รู้จักกันไหมนะค่ะ

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


108 เทคนิคการใช้ Photoshop ตอนที่ 2
8. Level
ในวันที่อากาศไม่ดี ภาพที่ได้มักจะมีโทนที่ไม่ดีตามไปด้วย คอนทราส์ต่ำ สีสันไม่สดใสเท่าที่ควร มีวิธีแก้ง่ายๆ ให้เลือกเมนู Image > Adjustment > Levels จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา จากนั้นคลิ๊กที่ Set White Point แล้วคลิ๊กที่ ภาพในส่วนที่ขาวมากที่สุด ในภาพนี้เลือกที่น้ำ (วงกลมสีฟ้า) เพียงเท่านี้โทนภาพก็จะดีขึ้นทันที โดยจุดที่คลิ๊กจะมีค่าสีเป็นสีขาว CMYK = 0 ซึ่งสามารถกำหนดค่าใหม่ได้โดยคลิ๊กที่ Set White Point สองครั้งจะมีหน้าต่างสำหรับ กำหนดสีที่ต้องการ อาจจะเลือก CMYK ทั้ง 4 สีเป็น 5 แล้ว คลิ๊กที่น้ำในภาพอีกครั้ง



ภาพต้นฉบับ







ภาพที่แก้ไขแล้ว







ต่อไปเรามาดูข้อ 9 กันนะค่ะว่าจะเป็นยังไง

เทคนิคการใช้photoshopเบื้องต้น
108 เทคนิคการใช้ Photoshop ตอนที่ 2
7. Shadow/Highlight
บ่อยครั้งที่เราถ่ายภาพแล้วมีส่วนที่เป็นเงามืด ขาดรายละเอียด ดังเช่นภาพน้ำพุทางด้านล่างขวา ส่วนที่อยู่ในศาลามืดทึบเพราะแสงสว่างน้อยกว่าที่น้ำ พุ คุณสามารถเพิ่มรายละเอียดได้อย่างง่ายดายเพียงเลือกเ มนู Image > Adjustment > Shadoow/Highlight แล้วปรับ Shadow เพิ่มขึ้นแล้วดูผลที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าส่วนที่เป็นเงาจะมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น โดยที่ส่วนสว่างเหมือนเดิม






แบบต้นฉบับ





ภาพที่ปรับแต่งส่วนที่รายละเอียดส่วนที่เป็นเงามืดแล้ว จะเห็นว่าน้ำพุที่เป็นเงาโทนสว่างไม่เปลี่ยนแปลง







ที่มาของแหล่งข้อมูล:
http://www.cm108.com/bbb/index.php?showtopic=1070